PM 2.5 เสี่ยงโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง มะเร็งปอด
PM 2.5 คืออะไร? คืออนุภาคขนาดเล็กมาก เล็กกว่าเส้นผมเราประมาณ 20-25 เท่า เกือบจะมองไม่เห็น ใน PM 2.5 จะประกอบด้วยก๊าซพิษ มีสารก่อมะเร็ง พวกนี้เกิดจากการเผาไหม้ เช่นการเผาไม้ก๊าซเสียรถยนต์ การประกอบอาหาร การก่อสร้าง หรือควันจากโรงงานอุตสาหกรรม แต่ถ้าเป็นตามชนบทจะมาจากการเผาพืชหรือเผาป่า จะส่งผลต่อสุขภาพของคนเราทั้งระยะสั้นและระยะยาว
อัรตรายจาก ฝุ่น PM 2.5
ผลกระทบในระยะสั้น คือ จะทำให้เกิดอาการเหนื่อยง่าย ไอ ระคายหู ระคายตา รวมถึงอาจจะทำให้เกิดอาการหลอดลมอักเสบหรือปอดอักเสบได้ รวมถึงโรคเรื้อรังของเดิม เช่น โรคหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคถุงลมโป่งพอง มีอาการกำเริบของโรคได้
ผลกระทบในระยะยาว ถ้าระดับ PM 2.5 ระดับสูงแล้วเราไปสูดดมเข้ามาแล้วสะสมเป็นระยะเวลานาน มันกระตุ้นให้เกิดปอดอุดตั้นเรื้อรังได้ อาจจะทำให้เกิดโรคหัวใจได้ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมองตีบ ภาวะหัวใจวาย น้ำท่วมปอดได้ นอกจากนี้เมื่อสะสมทำให้เกิดโรคมะเร็งปอดได้
งง อาการกำเรอบของโรคหลักๆ คือการเหนื่อย แล้วก็มีอาการไอ บางครั้งอาจจะมีการติดเชื้อซ้ำซ้อนเป็นปอดอักเสบบ้าง หลอดลมอักเสบบ้าง
ส่วนเรื่องมะเร็งปอด อาการก็จะมีไอเป็นหลัก บางครั้งไอเป็นเลือดบ้าง บางคนเบื่ออาหาร น้ำหนักลด มะเร็งปอดส่วนนึงเกิดจากการสูบบุหรี่ บางคนอาจจะไม่สูบบุหรี่ก็ได้ ส่วนฝุ่น PM2.5 เองก็เป็นปัจจัยเสียงนึงที่ทำให้เกิดมะเร็งปอดได้เช่นกัน
โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังส่วนใหญ่ร้อยละ 80 เกิดจากการสูบบุหรี่ แล้วอีกประมาณร้อยละ 20 เกิดจากสาเหตุอื่นๆ หนึ่งในนั้นคือ ฝุ่น PM2.5 ถ้าจำเป็นต้องออกกลางแจ้งก็แนะนำว่าควรจะใส่หน้ากาก หน้ากากที่ดีที่สุดคือ N95 การใส่หน้ากาก N95 ต้องใส่ให้กระชับ ให้มิดชิด แล้วก็ออกไปในสถานที่จำเป็นจริงๆ ถ้าไม่จำเป็นสามารถเลี่ยงได้ก็ควรเลี่ยง ส่วนหน้ากากแบบธรรมดาก็สามารถใช้ได้เช่นกัน แต่ต้องใส่ให้มิดชิด
เพราะฉะนั้นผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ป่วยเกี่ยวกับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังก็ต้องหมั่นตรวจสอบเรื่องของการดูแลตัวเอง การป้องกันเป็นพิเศษมากกว่าคนทั่วๆ ไป ส่วนคนทั่วไปก็งดกิจกรรมกลางแจ้งให้ได้มากที่สุด งดออกกำลังกายกลางแจ้งไปก่อน และที่สำคัญช่วยกันลดความเสี่ยงที่ทำให้เกิดฝุ่นให้ความร่วมมือกับภาครัฐอย่างเคร่งครัดเพื่อช่วยกันแก้ไขปัญหาในระยะยาว